บริษัท รักษาความปลอดภัย จี เอส จำกัด

หน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย

หน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสวัสดิภาพและทรัพย์สินของท่านโดยหน้าที่หลักของพนักงานรักษาความปลอดภัย สามารถจำแนกได้ดังนี้

  1. ดูแล ป้องกัน รักษาทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างให้รอดพ้นจากการโจรกรรม อัคคีภัย และเหตุร้ายอื่นๆตลอด 24 ชั่วโมง
  2. ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณที่รับผิดชอบตลอด 24 ชั่วโมง
  3. ดูแลการผ่านเข้า-ออกของบุคคล และยานพาหนะ
  4. ตรวจเช็คทรัพย์สินที่จะนำเข้าหรือส่งออกภายในบริเวณที่รับผิดชอบตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง
  5. อำนวยความสะดวกด้านการจราจรทางเข้า-ออกและภายในบริเวณพื้นที่รับผิดชอบ
  6. ตรวจค้นพนักงานของผู้ว่าจ้างเมื่อเลิกงานหรือก่อนที่จะออกไปนอกบริเวณบริษัทโรงงานหรือกิจการอื่นๆตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง
  1. มาตรฐานในการฝึกอบรม เรามีมาตรฐานในการฝึกอบรมพนักงานรักษาความปลอดภัยตั้งแต่เริ่มรับเข้ามาทำงานและก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้งเพื่อให้สามารถรับผิดชอบต่อหน้าที่และให้ใช้ความสามารถให้ตรงตามที่ได้รับการอบรมฝึกฝนมาให้เหมาะสมในแต่ละประเภทของธุรกิจหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาความปลอดภัย อีกทั้งยังสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี ในการฝึกอบรมนั้นทางบริษัทได้มีการฝึกอบรมทั้งก่อนการปฏิบัติงานฝึกอบรม ณ หน่วยงานที่ปฏิบัติจริงและหลังการปฏิบัติงานตลอดจนบริษัทจัดให้มีการฝึกอบรมทบทวนอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นประจำโดยมีการฝึกอบรมทบทวนประจำปีประจำเดือนทุกๆเดือนประจำสัปดาห์และประจำวันเพื่อตรวจสอบคุณภาพ ศักยภาพ ขีดความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัยและหาทางแก้ไขข้อบกพร่องและแนวทางที่ถูกต้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพนักงานรักษาความปลอดภัยในการให้บริการที่ดีที่สุดแก่ผู้ว่าจ้าง
  2. มาตรฐานทางด้านข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี เรามีมาตรฐานได้ข้อมูลข่าวสารของบริษัทที่น่าเชื่อถือสามารถอ้างอิงได้และมีสำนักงานที่อยู่เป็นหลักแหล่งสะดวกด้วยการติดต่อ นอกจากนี้ยังสามารถดูข้อมูลของบริษัทผ่านระบบอินเตอร์เน็ตตามWebsite,Google และสมุดหน้าเหลือง (Thailand Yellow Pages) รวมถึงมีการนำการติดต่อสื่อสารช่องทาง Social Network,Line,facebook และเบอร์โทรศัพท์ประจำสำนักงานบริษัทตลอด 24 ชั่วโมงเข้ามาให้บริการแก่ผู้ว่าจ้าง ยิ่งทำให้มั่นใจได้ว่าถ้าจะสามารถติดต่อ ตรวจสอบบริการได้ตลอดเวลา เพื่อให้ได้รับการบริการที่ดีที่สุดและรวดเร็วที่สุด

6. มาตรฐานด้านความรับผิดชอบต่อความเสียหาย (Responsibility for damage) เรามีมาตรฐานในความรับผิดชอบต่อความเสียหายในอัตราที่สูง ซึ่งทางบริษัทมีการระบุไว้อย่างชัดเจนในสัญญาว่าจ้างกับผู้ว่าจ้าง โดยมีการประเมินหลักประกันเบื้องต้น ทั้งนี้จะน้อยกว่าหรือมากกว่านั้นต้องขึ้นอยู่กับลักษณะของหน่วยงานจำนวนคนที่ว่าจ้าง อัตราความเสี่ยงและลักษณะของการปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่ที่ผู้ว่าจ้างจะให้ทางบริษัทต้องรับผิดชอบ